เมื่อประมาณ 13,000 ปีแล้วมีเหตุการณ์การลดลงของอุณหภูมิในซีกโลกเหนืออย่างกะทันหันและรุนแรง เรียกว่า “เดอะ ยังเกอร์ ดรายอัส” (The Younger Dryas) ก่อนจะเกิดภาวะโลกร้อนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนในช่วง ปลายยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย ซึ่งช่วงเวลาการเย็นลงอย่างรวดเร็วนี้เกี่ยวข้องกับการสูญพันธุ์ของสัตว์หลายชนิดรวมถึงแมมมอธและมาสโตดอน รวมถึงสอดคล้องกับการปรากฏตัวของมนุษย์ยุคแรกๆในอเมริกาเหนือ
ล่าสุด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮิวส์ตัน มหาวิทยาลัยเบย์เลอร์ และมหาวิทยาลัยเท็กซัส เอแอนด์เอ็ม ในสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบหลักฐานว่าทำไมโลกถึงเย็นลงอย่างมากเมื่อ 13,000 ปีก่อน ซึ่งอุณหภูมิลดลงประมาณ 3 องศาเซนติเกรด หลักฐานดังกล่าวถูกฝังอยู่ในถ้ำฮอลล์ ตั้งอยู่ทางตอนกลางของเท็กซัส หลังจากวิเคราะห์ไอโซโทปของตะกอน ก็พบว่าการเย็นตัวลงอาจไม่ได้เกิดจากผลกระทบนอกโลก แสดงว่าต้องมีอะไรบางอย่างเกิดขึ้นบนโลก ทีมวิจัยสงสัยว่าการระเบิดครั้งใหญ่ครั้งเดียวของภูเขาไฟสามารถทำให้ความเย็นเกิดขึ้นได้หรือไม่ ซึ่งผลวิเคราะห์รูปแบบทางธรณีวิทยา บ่งชี้ว่าน่าจะเป็นผลจากการปะทุครั้งใหญ่ทั่วซีกโลกเหนือ รวมถึงภูเขาไฟใกล้หมู่เกาะอะลูเชียน, เทือกเขาแคสเคดส์ และแม้แต่ในยุโรป
ทั้งนี้ การวิจัยจึงเน้นไปที่ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงช่วงยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย เชื่อว่าข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาจะนำไปสู่การสร้างแบบจำลองที่ดีขึ้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในอดีตและอนาคต.
(Credit ภาพ : Michael Waters, Texas A&M University)
อ่านเพิ่มเติม...
"เย็น" - Google News
August 05, 2020 at 10:01AM
https://ift.tt/3fwtKPP
หลักฐานจากถ้ำอธิบายทฤษฎีโลกเย็น - ไทยรัฐ
"เย็น" - Google News
https://ift.tt/2VblJHO
Home To Blog
No comments:
Post a Comment